สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

                   สถาบันวิจัยและพัฒนา เริ่มจากการก่อตั้งหน่วยงานชื่อ “ ศูนย์วิจัย ” ในปี พ.ศ.2524 เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย ในขณะที่รองศาสตราจารย์ฉลอง ภิรมรัตน์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยครูภูเก็ต ต่อมาวิทยาลัยครูได้เปิดสอนวิชาการอื่น ๆ นอกจากการผลิตครูด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม “ สถาบันราชภัฏ ” แทน “ วิทยาลัยครู ” ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงเปลี่ยน ชื่อ “ สถาบันราชภัฏครู ” โดยขณะนั้นมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุ ประดิษฐ์ ลิบรัตนสกุล ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี และเมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ พ.ศ. 2538 มีการบังคับใช้แล้ว หน่วยงานนี้จึงได้ยกฐานะเป็นส่วนราชการมีฐานะเทียบเท่ากอง เรียกว่า "สำนักวิจัย" ครั้นต่อมาเมื่อมีการจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต” ขึ้นแทนสถาบันราชภัฏภูเก็ต ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พ.ศ. 2547 ขณะที่รองศาสตราจารย์ ดร.ชิรวัฒน์ นิจเนตร ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี สถานภาพของหน่วยงานนี้ได้เปลี่ยนเป็น “ สถาบันวิจัยและพัฒนา ” อันเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ มีการปรับปรุงโครงสร้างและหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนาให้ดำเนินงานสำคัญ 2 ประการของมหาวิทยาลัย คือ

                                      1) งานวิจัย
                                      2) งานบริการวิชาการ


                   ในขณะเดียวกันได้มีการปรับปรุงโครงสร้างและภาระหน้าที่ของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยการสรรหาและแต่งตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีรองผู้อำนวยการ 3 คน เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย งานวิจัยและบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ จึงดำเนินไปตามโครงสร้างและหน้าที่ใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปัจจุบัน




ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา (Philosophy)

“ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พร้อมทั้งบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน”

วิสัยทัศน์ (Vision)

“พัฒนา สนับสนุนนักวิจัย ด้วยการบริหารจัดการการวิจัยอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงและเผยแพร่การวิจัยสู่ประชาคมวิจัย และพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน"

พันธกิจ (Mission)

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัยและบุคลากรด้านการวิจัย

2. ส่งเสริม เผยแพร่ ผลงานวิจัยสู่ระดับชาติและนานาชาติ

3. บริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความเข็มแข็งแก่ชุมชนและสังคม

วัตถุประสงค์

1. การพัฒนาคุณภาพงานวิจัย งานสร้างสรรค์สู่การพัฒนาท้องถิ่น

2. การพัฒนาศักยภาพการบริการวิชาการ

3. การพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดีเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล

อัตลักษณ์

“บริหารจัดการงานวิจัยด้วยความโปร่งใส”

นโยบาย

ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และการบริการวิชาการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น

แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนา

แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีงบประมาณ 2557 - 2560